หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระบ้านนอก.ธรรมะ


ธรรมะ กับ การเมือง
เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้
แยกกันเมื่อไร
การเมืองก็กลายเป็นเรื่องทำลายโลกขึ้นมาทันที

เมื่อกล่าวโดยปรัชญาทางศีลธรรม
การเมืองก็คือหน้าที่ของมนุษย์
ที่เขาจะต้องประพฤติกระทำให้ถูกต้อง
ตามกฎของธรรมชาติอันเฉียบขาด
เพื่อผลคือการอยู่กันเป็นผาสุก
โดยไม่ต้องใช้อาชญา
แต่เมื่อไม่มีการคำนึงถึงศีลธรรมกันเสียแล้ว
การเมืองก็กลายเป็นเรื่องสกปรก
สำหรับหลอกลวงกัน อย่างไม่มีขอบเขต
จนกระทั่งโลกนี้กลายเป็นโลกแห่งการหลอกลวงไปเสีย
มีแต่สัตว์การเมือง ที่เป็นสัตว์เอาเสียจริง ๆ
กล่าวคือ บูชาเรื่อง กิน-กาม-เกียรติ แทนสันติสุข

การเมืองที่แท้จริงสำหรับมนุษย์
ต้องตั้งรากฐานอยู่บนรากฐานทางศาสนา
ของทุกศาสนาที่มีอยู่ว่า
"สัตว์ทั้งหลาย เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น"
นักการเมืองที่มีธรรมสัจจะข้อนี้อยู่ในใจ
ย่อมเป็นนักการเมืองของพระเจ้า
การเคลื่อนไหวของเขาทุกกระเบียดนิ้ว
มีแต่กุศล
จนกระทั่งกลายเป็นปูชนียบุคคลไป

เกิดมาแล้วต้องไม่เสียชาติเกิด
คือเกิดมาในโลกนี้แล้ว
ต้องมีส่วนที่จะทำให้โลกนี้มีสันติสุข สันติภาพ

พุทธบริษัทเรา ถ้าตกไปในความงมงายเท่าไร
ก็สูญเสียอิสรภาพทางสติปัญญาเท่านั้น
ความงมงายนี้มีหลายสิบ หลายร้อย รูปแบบหรือชนิด
ไปดูเอาเองอย่าต้องออกชื่อ มันกระทบกระเทือน

เราเป็นคนคนหนึ่งในโลก
ก็ต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ของโลก
เพราะว่าถ้าปัญหามันเกิดขึ้นในโลก
แล้วมันก็ต้องถึงเราด้วย

การเมืองที่ปราศจากธรรม
ตั้งต้นจากการขยายตัวของกิเลส

อย่าลืมธรรมชาติ
พยายามที่จะใกล้ชิดธรรมชาติไว้ในโลกให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความหมายหลายแง่ของธรรมะ


ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา (พุทธศาสนาพัฒนามนุษย์)

“ศาสนาทุกศาสนา ล้วนเกิดจากการ ระลึก และดำริ ทั้งสิ้น” ท่านทั้งหลายเมื่ออ่านไปแล้วก็อย่าได้เข้าใจผิด คิดว่าอาตมาเอาหลักธรรมะในพุทธศาสนา ครอบคลุมศาสนาอื่นๆ หรือเข้าใจผิดคิดว่า อาตมา ทับถมดูแคลนศาสนาอื่น ฯ หรือที่เข้าใจผิดไปแล้ว ก็โปรดได้ทำความเข้าใจในความถูกต้องไว้ว่า มนุษย์ ย่อมมีการ “ระลึก (นึกถึงฯลฯ) และ ดำริ (การคิดฯ)” เป็นธรรมชาติ (หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ความจริงแล้ว สัตว์บางชนิดก็ ระลึก ดำริ ได้เช่นเดียวกับมนุษย์ก็มี) ดังนั้น เมื่อมนุษย์ล้วนย่อม มีการ ระลึก,ดำริ ซึ่งเกิดจากการได้สัมผัสทางอายตนะภายใน คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเกิดจากการที่อวัยวะที่ได้กล่าวไป ได้สัมผัสกับ อายตนะภายนอกตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น แสง สี เสียง โผฏฐัพพะ(สิ่งที่มาถูกต้องกาย) จนทำให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก เกิดสภาพสภาวะจิตใจซึ่งเรียกไปในหลายรูปแบบ บ้างก็เรียกว่า เป็นธรรมะ บ้างก็เรียกว่า เป็นกิเลส ฯลฯ ซึ่งก่อนที่เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ เมื่อได้สัมผัส ก็จะเกิด การระลึก (นึกถึง) และเกิดความคิด ตามลำดับ แล้วความคิดและการระลึกนึกถึง ก็จะทำให้เกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ ดังที่อาตมาได้อธิบายไว้ในตอนก่อนๆว่า อารมณ์ ความรู้สึก สภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ธรรมะบ้าง หรือ บ้างก็เรียกว่า กิเลส ล้วนเกิดขึ้นที่ หัวใจ ของบุคคลนั้นๆ
ศาสนาทุกศาสนาก็ย่อมเกิดขึ้นจากการ ระลึก และ ดำริ อันเป็นเครื่องดิ้นรน เพื่อให้หลุดพ้นจากสิ่งที่ศาสดาแต่พระองค์เรียกว่า ทุกข์ เพื่อให้เกิดสันติสุข เพื่อให้เกิดสามัคคี และอยู่ร่วมกันโดยความสงบสุข ซึ่งท่านทั้งหลายสามารถศึกษาค้นคว้า ศึกษา และเปรียบเทียบในคำสอนของทุกศาสนาได้เลยว่า ล้วนหนีไม่พ้น ธรรมชาติของตัวมนุษย์เอง เพียงแต่ว่าสิ่งไหนเป็นมรรค สิ่งไหนเป็นผล ก็ล้วนเป็นเรื่องของศัพท์ภาษา และขึ้นอยู่กับยุคสมัยแห่งการได้รับการศึกษา และวิวัฒนาการของสมองสติปัญญาของมนุษย์ ถ้าจะกล่าวอีกในรูปแบบหนึ่ง ก็หมายความว่า คำสอน หรือหลักธรรมะของศาสนาย่อมอาศัยปัจจัย คือสมองสติปัญญา การเรียนรู้ของมนุษย์ ตามแต่ยุคสมัยว่าควรใช้ศัพท์ภาษาเยี่ยงใด เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย บ้างอาจเป็นผลแห่งการระลึก,ดำริ บ้างอาจเป็นเหตุแห่งการระลึกดำริ บ้างอาจเป็นทั้งเหตุและผลแห่งการระลึก,ดำริ ซึ่งล้วนเกิดจากการได้รับสัมผัสโดยอายตนะภายใน จากการได้สัมผัส อายตนะภายนอก ฯ
เมื่อมาถึงยุคสมัยปัจจุบัน และอนาคต หลักธรรมะ ย่อมต้องเป็นหลักธรรม ที่ทำให้มนุษย์ทุกคนยอมรับว่า เป็นหลักความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด “ทุกข์” ,เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ฯลฯ และ ย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้เช่นกัน
ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า หลักธรรมในทุกศาสนา ล้วนเกิดจาก การ ระลึก,และดำริ ซึ่งหากท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมแห่งศาสนาใดใด เมื่อได้อ่าน และทำความเข้าใจในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้สร้างบรรทัดฐานไว้ ก็จะเกิดความเข้าใจในหลักแห่งศาสนานั้นๆมากขึ้น ความเจริญในแต่ละศาสนาก็จะเกิดขึ้น เพราะผู้ศรัทธาหรือผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลากรในศาสนานั้น มีความเข้าใจในหลักธรรมะหรือหลักคำสอนของศาสนานั้นๆตามหลักความจริง ตามหลักธรรมชาติ อันเป็นการพัฒนาศาสนาทุกศาสนาไปพร้อมๆกัน มิใช่ยกพุทธศาสนามาข่มศาสนาอื่น
หลายๆท่านอาจสงสัยว่า ศาสนาทุกศาสนาจะเจริญ ได้อย่างไรกัน หากว่าผู้สังคมในศาสนานั้นๆ มีความรู้ มีความเข้าใจในหลักธรรมะแห่งศาสนาพุทธในข้อ ระลึก ดำริ ที่อาตมากล่าวไปก็เพราะ “ระลึก ดำริ” เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ เมื่อรู้แล้วว่า มนุษย์ย่อมมีการ คิด และการนึกถึง หลักธรรมหรือคำสอนในศาสนาใดใด ก็ล้วนมีรากฐานแบบเดียวกัน สามารถพิจารณาจนแตกฉานในศาสนานั้นๆ สามารถพิจารณาจนหลุดพ้นตามหลักศาสนานั้นๆ ได้อย่างไม่ต้องอายใคร และไม่มีการแบ่งแยกว่า ศาสนานั้นจะดีกว่าศาสนานี้ ศาสนาโน้น จะดีกว่าศาสนานั้น เพราะหลักการศาสนาใดใด แตกต่างกันเพียงแต่ภาษาที่ใช้ และแตกต่างกันตรงที่ความจำเป็นในการใช้ภาษาหรือใช้หลักธรรมคำสอน ตามยุค ตามสมัย ตามสมองสติ ปัญญา ตามสภาพภูมิประเทศ ตามสภาพภูมิอากาศ ตามความจำเป็นในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์
หากท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในศาสนาใดใด หรือเป็นผู้ศรัทธาในศาสนาใดใด ได้เข้ามาอ่าน ได้เข้ามาดูมาศึกษา ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่า อาตมาได้ยกเอาหลักธรรมะ ในศาสนาพุทธมาสอนมาเผยแพร่ แล้วจะทำให้ศาสนาอื่นเสื่อมโทรม เลิกคิดได้เลย เพราะศาสนาทุกศาสนาล้วนย่อมเจริญรุ่งเรือง และได้รับการพัฒนาไปพร้อมกัน ซึ่งก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับการระลึก ดำริ ของพวกท่านนั่นแหละที่จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติ
eeeeeee